ปัญหาสุขภาพเท้าและการเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ
-
-
วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ และปัญหาเท้าที่ต้องเผชิญ
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราก็เริ่มถดถอยเข้าสู่ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสายตา กล้ามเนื้อ รวมถึงเท้าของเรา ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนอายุยิ่งมากยิ่งมีปัญหาสุขภาพเท้าเพิ่มมากขึ้น แต่วิธีหนึ่งที่จะช่วยถนอมสุขภาพเท้า และช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพเท้าและข้อต่อต่างๆ ก็คือ การเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่ซัปพอร์ต และดูแลเท้าให้เดินได้สบาย สามารถรองรับแรงกระแทกและกระจายน้ำหนักได้ดี
ปัญหาสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุที่พบบ่อย จนทำให้เราต้องเลือกซื้อรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยดูแลถนอมเท้า มีดังต่อไปนี้
เท้าแบน จากเส้นเอ็นยืด
ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว เราอาจจะไม่เคยมีปัญหาเรื่องเท้าแบน หรืออุ้งเท้าผิดปกติเลยไม่ว่าจะตรวจสักกี่ครั้ง แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เส้นเอ็นของเรายืดตัวมากขึ้น ส่งผลให้อุ้งเท้าโค้งน้อยลง และทำให้เท้าแบน ทำให้เจ็บเท้า และลามไปถึงข้อเท้า อุ้งเท้า เข่า สะโพก และหลัง แต่หากว่าไม่ได้ตรวจเช็กสุขภาพเท้าและไม่ได้ใส่รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่ออกแบบสำหรับคนเท้าแบน ก็จะทำให้การทรงตัวยาก และอาจจะเกิดปัญหาสุขภาพเท้าอื่นๆ ตามมา
นิ้วเท้าหงิกงอผิดปกติ (Hammer Toe)
เป็นภาวะที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุที่มักจะใส่รองเท้าที่คับ หรือบีบบริเวณหน้าเท้าบ่อยๆ เป็นเวลานาน ทำให้นิ้วเท้าหงิกงอผิดรูป กระดูกตรงกลางเท้าโค้งงอผิดปกติ ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะแนะนำให้ใช้การผ่าตัดเพื่อปรับข้อต่อเท้า หรือบางคนอาจจะใช้วิธีการสวมใส่แผ่นประคองนิ้วเท้า เพื่อลดความเจ็บปวด
เท้าบวมน้ำ
เวลาที่อายุมากขึ้น แขน ขา เท้า จะบวมใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราเรียกอาการนั้นว่า อาการบวมน้ำ เกิดจากการที่เลือดไหลเวียนไม่ดี ทำให้มีของเหลวสะสมอยู่ โดยมากจะเกิดจากโรคประจำตัว อย่างโรคหัวใจ ตับ ไต เบาหวาน ซึ่งทำให้ต้องดูแลสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหากเป็นโรคเบาหวาน จะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย และบาดแผลหายช้ากว่าคนปกติ
ตาปลา
ตาปลาที่พบได้บ่อย จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตาปลาแบบตุ่มเล็กและมีแกนตรงกลาง (Hard corn) เกิดจากแรงกดทับซ้ำๆ บ่อย สามารถพบได้ในทุกวัย และตาปลาแบบผิวด้าน (Callus) เกิดจากการเสียดสี มักเจอบ่อยในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และผู้สูงอายุที่เท้าเริ่มมีอาการผิดรูป ส่งผลให้เจ็บเท้าเวลาเดินไม่ว่าจะสวมรองเท้าหรือไม่ก็ตาม
ชั้นไขมันบริเวณส้นเท้าบางลง
ใต้ฝ่าเท้าของเรามีชั้นไขมันที่ช่วยรองรับแรงกระแทก เมื่อชั้นไขมันบางลงก็จะส่งผลให้เท้ารับแรงกระแทกมากขึ้นจนเจ็บเท้าได้ง่ายกว่าเดิม ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือ การซื้อรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่รองรับแรงกระแทกและกระจายน้ำหนักได้ดี
การเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพเท้าต่างๆ เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยากในช่วงที่ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือเสื่อมโทรมลง ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องเลือกซื้อรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยซัปพอร์ต และแก้ปัญหาสุขภาพเท้า และดีที่สุดควรจะตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ รวมถึงใส่รองเท้าสุขภาพทุกครั้ง เพื่อถนอมเท้าให้มีสุขภาพดีไปได้นานๆ โดยมีหลักในการเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุดังต่อไปนี้
ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้ว
เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น เราไม่ควรจะใส่รองเท้าส้นสูง แต่หากว่าเลี่ยงไม่ได้ เราก็ไม่ควรจะใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้ว เพราะจะทำให้ปวดเท้า ปวดเข่า และพาลไปปวดหลัง และไม่ควรจะใส่รองเท้าที่บีบหน้าเท้า อย่างรองเท้าหัวแหลม เพราะจะทำให้กระดูกผิดรูปได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ควรจะเป็นรองเท้าที่ราบเรียบหรือเป็น Flat Shoe ไปเลย เพราะรองเท้าที่แบนเกินไปก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าได้เช่นกัน จึงควรเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพที่มีพื้นรองเท้าที่ช่วยซัปพอร์ตเท้า ช่วยรองรับแรงกระแทก และกระจายน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกซื้อรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า
รองเท้าที่ดีสำหรับคนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง เพราะรูปเท้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องรูปเท้าผิดปกติ อย่างเท้าแบน อุ้งเท้าสูง กระดูกงอผิดรูป ควรจะเลือกรองเท้าสุขภาพที่สามารถเปลี่ยนแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่เหมาะสมกับเท้าของเราได้ ซึ่งจะช่วยรองรับสรีระเท้าที่แตกต่างกัน และปรับสมดุลของการยืนและเดินได้อย่างเหมาะสม ไม่กระทบต่อปัญหาสุขภาพเท้า และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า ขอแนะนำให้ตรวจวัดสภาพเท้า และซื้อรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รองเท้าที่เหมาะเป็นการเฉพาะและดูแลเท้าเราอย่างแท้จริง
มีความยาวและความกว้างที่เหมาะสม
เราควรจะเลือกรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของเรา ไม่หลวมเกินไป และไม่คับจนเกินไป ด้วยเหตุนี้ การเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ควรจะให้ผู้สวมใส่ไปลองด้วยตนเอง เพราะแม้ว่าจะเป็นแบรนด์เดียวกัน แต่หากว่าเป็นรองเท้าคนละรุ่น ก็อาจจะมีขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป
เลือกซื้อรองเท้าในช่วงเย็น และลองสวมเดินก่อนทุกครั้ง
เนื่องจากช่วงเวลาเย็น เป็นเวลาที่เท้าของเราขยายตัวอย่างเต็มที่แล้ว การลองและเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเวลานี้จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องรองเท้าคับไป หรือไม่พอดีเมื่อซื้อมาแล้ว และอย่าลืมลองใส่เดินไปรอบๆ ทุกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
เลือกใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่เหมาะสมกับสุขภาพเท้าเฉพาะบุคคล
ไม่ว่าจะมีปัญหาสุขภาพเท้าหรือไม่ก็ตาม เมื่ออายุมากขึ้นการเลือกซื้อรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุควรจะพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยที่สุดควรจะมีการตรวจวัดเท้าก่อนที่จะซื้อรองเท้า และหากว่าเรามีปัญหาสุขภาพเท้า เราก็ควรจะเลือกใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคล ที่มีการตรวจวัดและตัดมาเพื่อเท้าของแต่ละคนโดยเฉพาะ เพื่อสุขภาพเท้าที่ดี
สำหรับใครที่กำลังมองหารองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะใส่เอง หรือซื้อให้แก่คุณพ่อคุณแม่ สามารถเลือกซื้อได้ที่ Fit For Feet by Verasu เรามีบริการตรวจวัดสุขภาพเท้าฟรี และให้คำปรึกษาโดยนักกายภาพผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้าโดยเฉพาะ สอบถามเพิ่มเติมหรือนัดหมายได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. 19 Foot Problems to Watch for in Aging Feet. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.footankleinstitute.com/blog/19-foot-problems-in-aging-feet/
2. Foot Problems in the Elderly and Fall Risk. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.visitingangels.com/knowledge-center/senior-health-and-well-being/foot-problems-in-the-elderly-and-fall-risk/486
3. การดูแลเท้าผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.princess-it-foundation.org/images/activity/2019/thai62/A/A16.pdf
4. ปัญหาสุขภาพเท้า ที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น และคุณไม่ควรละเลย. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://hellokhunmor.com/สูงวัยอย่างมีคุณภาพ/สุขภาพกายผู้สูงวัย/ปัญหาสุขภาพเท้า-อายุมาก-สูงวัย/
5. ปัญหาเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุสุขภาพดี. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/05/L-291.pdf
รวมปัญหาสุขภาพเท้า และการเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ
-
วิธีเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ ให้ห่างไกลจากโรคที่เกิดกับเท้า
เท้าเป็นอวัยวะที่เราใช้งานอยู่เสมอ และสำหรับบางคนซึ่งทำงานที่ต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เท้าจึงถูกใช้งานอย่างหนัก รองรับแรงกระแทกมากขึ้น รวมไปถึงต้องเสียดสีกับรองเท้าบ่อยขึ้น นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเท้าต่าง ๆ ดังนั้นการดูแลสุขภาพเท้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเราสามารถทำได้ด้วยการเลือกใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ พร้อมรองรับแรงกระแทก และถนอมสุขภาพเท้าของเรานั่นเอง
รวม 5 ปัญหาสุขภาพเท้าที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย
ปัญหาสุขภาพเท้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับช่วงวัยใดช่วงวัยหนึ่ง แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ถ้าเราใช้งานเท้าอย่างหนักและเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงยังขาดความใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพเท้า โดยปัญหาที่มักพบเห็นได้บ่อย ๆ มี ดังนี้
1. น้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต
สาเหตุ
น้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราในสายพันธุ์ Dermatophytes ซึ่งเป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น เช่น รองเท้าที่ลุยน้ำฝน พื้นที่มีน้ำท่วมขัง และบริเวณขอบสระว่ายน้ำ
อาการ
ผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้าจะมีอาการคันบริเวณง่ามนิ้วเท้า และจะมีลักษณะของผิวเปื่อย แดง ลอกเป็นขุย หากติดเชื้ออาจแสบร้อน เกิดเป็นแผลพุพอง เป็นหนองได้
วิธีการป้องกันและรักษา
ควรหลีกเลี่ยงการลุยน้ำท่วมขัง และการแช่เท้าในน้ำเป็นเวลานาน ๆ และไม่ควรสวมใส่รองเท้าที่มีความอับชื้น รวมถึงรองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี
หมั่นรักษาความสะอาดเท้า และเช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ ทาครีมกันเชื้อรา หรือโรยแป้งที่เท้าเพื่อไม่ให้เท้าเปียกชื้น และเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ที่แห้งสะอาด โดยเลือกใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ ผลิตจากวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการระบายอากาศ ลดความอับชื้นได้เป็นอย่างดี
2. ตาปลา
สาเหตุ
เกิดจากเท้าถูกแรงกระแทกและเสียดสีซ้ำ ๆ จากการสวมใส่รองเท้าไม่พอดีจนเลื่อนหลุดง่าย หรือสวมใส่รองเท้าที่คับเกินไปจนบีบรัดเท้า รวมถึงการยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ
อาการ
เกิดตุ่มหนาหยาบ มีวงนิ่มสีเหลืองอยู่รอบ ๆ ตรงกลางแข็งและเป็นสีเทา กดแล้วรู้สึกเจ็บ โดยมากมักเกิดที่บริเวณด้านบนเท้าและด้านข้างนิ้วเท้า หรืออยู่ระหว่างนิ้วเท้า
วิธีการป้องกันและรักษา
ควรหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ทำให้เท้าเกิดแรงกระแทกและการเสียดสี สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการสามารถใช้แผ่นปิดตาปลา เพื่อรักษาอาการได้ แต่ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์ เพื่อตัดแต่งเนื้อตาปลาออก ร่วมกับการใช้ยากำจัดตาปลา
ทางที่ดีคือควรป้องกันด้วยการเลือกสวมรองเท้าเพื่อสุขภาพที่ขนาดพอดีกับเท้า และสำหรับผู้ที่เป็นตาปลาควรใช้แผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้าที่ทำมาเป็นพิเศษให้ผู้ป่วย เพื่อลดแรงกระแทกและลดการเสียดสี เพื่อไม่ให้เกิดตาปลาซ้ำขึ้นมาอีก
3. เล็บขบ
สาเหตุ
เล็บที่งอกใหม่แทงเข้าไปยังบริเวณผิวหนังปลายเล็บ เกิดจากการตัดเล็บสั้นจนเกินไป รวมถึงการสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่รัดแน่นจนไปกดเล็บเท้า
อาการ
กดโดนแล้วรู้สึกเจ็บ บวมแดง และอาจมีเลือดออกหรือเป็นหนอง รวมถึงอาจติดเชื้อได้ สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือมีอาการแผลหายช้า ควรรีบพบแพทย์ทันที
วิธีการป้องกันและรักษา
สำหรับเล็บขบที่ไม่ติดเชื้อ ให้ใช้วิธีแช่เท้าในน้ำอุ่น ประมาณ 15-20 นาที 3-4 ครั้ง ทุกวัน และใช้สำลีชุบน้ำมันมะกอกทาบริเวณที่เล็บขบ เพื่อให้เล็บค่อย ๆ คลายตัวออกจากหนังปลายเล็บเท้า แล้วค่อยตัดออก หากมีอาการปวดสามารถใช้ยาบรรเทาปวดได้
ส่วนการป้องกันนั้นสามารถทำได้ด้วยการตัดเล็บเท้าให้ตรงและไม่ให้ขอบของเล็บเท้าโค้งหรือตัดสั้นเกินไป เลือกสวมรองเท้าเพื่อสุขภาพที่ขนาดพอดีกับเท้าและมีความนิ่มสบายไม่กดทับปลายเล็บเท้า
4. โรครองช้ำ
สาเหตุ
โรครองช้ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เกิดจากการใช้งานเอ็นบริเวณฝ่าเท้าเป็นเวลานาน จนเกิดการอักเสบลุกลามไปจนถึงบริเวณเอ็นร้อยหวาย มักเกิดในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือประกอบอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงคนที่มีอุ้งเท้าสูงหรืออุ้งเท้าแบน ไปจนถึงคนที่ชอบใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ
อาการ
ปวดและอักเสบบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้า ความรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มอยู่บริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้า ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้อาการเรื้อรังได้
วิธีการป้องกันและรักษา
ควรแช่เท้าในน้ำอุ่น และหมั่นยืดเหยียดบริหารเอ็นร้อยหวายและฝ่าเท้า รวมถึงควรลดน้ำหนัก และควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อไม่ให้เอ็นร้อยหวายทำงานหนัก จนอาการหายช้าหรือเรื้อรังได้
ควรเลือกสวมรองเท้าเพื่อสุขภาพ และใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับรูปเท้า เพื่อช่วยพยุงอุ้งเท้าและลดแรงกระแทก
5. ตุ่มพองที่เท้า
สาเหตุ
ปัญหาสุขภาพเท้าที่มักจะเป็นในหมู่นักวิ่ง เกิดจากการเสียดสีทำให้ชั้นหนังกำพร้าแยกออกจากชั้นหนังแท้ และมีของเหลว เช่น เลือด น้ำเหลือง ไหลออกมาคั่งอยู่ในตุ่มพอง
อาการ
เกิดเป็นตุ่มพอง เมื่อเสียดสีจะทำให้ยิ่งปวด และหากตุ่มพองแตก อาจส่งผลให้มีเชื้อโรคเข้าไป เกิดการติดเชื้อและกลายเป็นภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีการป้องกันและรักษา
ถ้าเท้ามีตุ่มพองให้ใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เจาะเข้าไปที่ด้านข้าง ตรงฐานของปุ่มแล้วกดให้ของเหลวไหลออกมา อย่าดึงหนังออก เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ ควรใส่ยาฆ่าเชื้อ แล้วปิดด้วยผ้าปิดแผลเพื่อป้องกันฝุ่น
สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้เกิดอาการตุ่มพอง ด้วยการเลือกขนาดรองเท้าที่พอดีหรือเลือกสวมรองเท้าเพื่อสุขภาพ และใช้ถุงเท้าที่ระบายความชื้นได้ดี รวมถึงใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่มีขนาดพอดีกับรูปเท้า เพื่อช่วยรับแรงกระแทกและลดการเสียดสีที่จะเกิดกับเท้า
เลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ ก่อนเกิดปัญหาสุขภาพเท้า
เราทุกคนสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าได้ตั้งแต่วันนี้ โดยเริ่มจากการเลือกสวมใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีวิธีการเลือก ดังนี้
• เลือกซื้อรองเท้าให้มีขนาดพอดีกับเท้า ไม่คับหรือว่าหลวมจนเกินไป และไม่ควรฝืนใส่รองเท้าที่ทำให้นิ้วเท้าชิดจนต้องงอนิ้วเท้า เพราะจะทำให้เกิดอันตราย และส่งผลเสียสุขภาพเท้าได้
• เลือกซื้อรองเท้าที่ผลิตจากหนังคุณภาพดี มีเนื้อนิ่ม และระบายอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยถนอมสุขภาพเท้า
• เลือกใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่มีขนาดพอเหมาะกับเท้า โดยแนะนำให้ใช้แผ่นรองฝ่าเท้าที่สั่งตัดกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการรองรับอุ้งเท้าได้อย่างพอดี และมีประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทก และลดแรงเสียดสีให้แก่เท้า
มาดูแลสุขภาพเท้าของเราตั้งแต่วันนี้ ด้วยการเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพที่ช่วยถนอมเท้าอย่างแท้จริง โดย Fit For Feet by Verasu เรามีบริการตรวจวัดสุขภาพเท้าฟรี และให้คำปรึกษาโดยนักกายภาพผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้าโดยเฉพาะ สอบถามเพิ่มเติมหรือนัดหมายได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. Ten common foot problems สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/319190
2. Recognizing and Treating Common Foot Problems สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.healthline.com/health/foot-problems
3. ตาปลา, อาการ, สาเหตุ, การรักษา สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/ตาปลา
4. โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่มาพร้อมกับน้ำท่วม สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Athlete_Foot
5. เล็บขบ, อาการ, สาเหตุ, การรักษา สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/เล็บขบ
6. ปวดฝ่าเท้า อาการรองช้ำ สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/606/Plantarfasciitis
7. คุยกับนักกายภาพบำบัด | “เท้าพอง” อาการที่พบบ่อยในกลุ่มนักวิ่ง สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://read.thai.run/5636/
-
รองเท้าส้นแบน ≠ รองเท้าสุขภาพผู้หญิง ใส่บ่อยเท้าอาจพัง!
-
-
รู้แล้วบอกต่อ รองเท้าส้นแบนไม่ใช่รองเท้าสุขภาพสำหรับผู้หญิง
“ใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ เสี่ยงปวดเท้า วันนี้ใส่รองเท้าส้นแบนละกัน เซฟเท้าหน่อย”
สาวๆ หลายคนอาจจะเคยคิดอย่างนี้ ในวันที่สบายๆ อยากออกไปซื้อของ เดินเล่น หรือวันทำงานที่ไม่มีประชุม ไม่ต้องพบลูกค้า แต่รู้หรือไม่ว่าการใส่รองเท้าส้นแบน หรือ Flat Shoes ก็อันตรายต่อสุขภาพเท้าไม่แพ้กัน เพราะรองเท้าส้นแบนไม่ใช่รองเท้าสุขภาพสำหรับผู้หญิง ใส่นานๆ บ่อยๆ ก็เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพเท้าเช่นเดียวกัน
รองเท้าส้นแบน ≠ รองเท้าเพื่อสุขภาพ
เมื่อพูดถึงรองเท้าส้นแบน สาวๆ หลายคนมักนำไปผูกอยู่กับรองเท้าที่สวมใส่ง่าย เดินสบายได้ทั้งวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว รองเท้าส้นแบนไม่ใช่รองเท้าเพื่อสุขภาพที่ใส่สบาย และไม่เหมาะกับการสวมใส่เดินนานๆ ทั้งวัน เพราะแม้ว่าจะใส่ง่าย แต่เดินนานๆ ก็ไม่สบายอย่างที่คิด แถมพื้นรองเท้ายังไม่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทก ส่งผลต่อสุขภาพเท้าของเราโดยตรง
ลักษณะของรองเท้าส้นแบน
รองเท้าส้นแบนจะมีพื้นรองเท้าเรียบแบนเหมือนแผ่นกระดาษ ไม่มีส่วนที่รองรับแรงกระแทกและน้ำหนัก เรียกว่า Insole กับ Outsole แทบจะเป็นแผ่นเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากรองเท้าเพื่อสุขภาพที่มักจะออกแบบให้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้ามีความนุ่ม มีความโค้งรับกับรูปเท้า ช่วยกระจายน้ำหนักและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ รองเท้าส้นแบน หรือ Flat Shoes จึงเป็นรองเท้าแฟชั่นหรือรองเท้าแตะที่แม้ว่าจะใส่แล้วสวย เหมาะกับวันสบายๆ แต่หากว่าต้องใช้ใส่เพื่อเดินระยะไกล เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ว่าจะเดินเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เดินเลือกซื้อของ หรือแม้แต่การยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่เหมาะสมเช่นกัน เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าตามมา
5 อาการเสี่ยงเมื่อเราสวมใส่รองเท้าส้นแบนในชีวิตประจำวัน
รู้หรือไม่ว่าหากเราใส่รองเท้าส้นแบนต่อเนื่องบ่อยๆ และใส่นานๆ อาจจะเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อย หรือบาดเจ็บ หรือเป็นโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เจ็บข้อเท้า
รองเท้าส้นแบนส่วนมากจะไม่ซัพพอร์ตบริเวณข้อเท้า เมื่อเดินนานๆ อาจจะทำให้ข้อเท้าบิด แพลง หรืออักเสบได้ โดยเฉพาะคนที่มีเท้าแบน หรือมีอุ้งเท้าสูง การเดินและการลงน้ำหนักที่ขาดความสมดุลจะทำให้บาดเจ็บได้ง่าย
2. ปวดเข่า
ใครว่าปัญหาสุขภาพเท้าจะหยุดอยู่ที่การปวดเท้า เพราะหากว่ารองเท้าของเราไม่กระจายน้ำหนักและรองรับแรงกระแทกได้ดีพอ ก็อาจจะลามไปปวดเข่าได้เช่นกัน
ปกติเวลาที่เราเดิน หรือวิ่ง เท้าจะหมุนจากด้านนอกเข้าด้านใน ทำให้เท้าด้านนอกสัมผัสพื้นก่อน หากว่าเท้าของเราหมุนน้อยหรือมากกว่าที่ควรจะเป็น จะทำให้ร่างกายต้องรับแรงกระแทกทั้งหมด ตั้งแต่ข้อเท้า ขึ้นไปที่เข่า จนถึงสะโพก ซึ่งการใส่รองเท้าส้นแบนที่ไม่รองรับและช่วยกระจายแรงกระแทกที่เท้า จะส่งผลต่อข้อต่อ กระดูก และกล้ามเนื้อที่ต้องรองรับแรงกระแทก และจะเห็นผลกระทบชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากว่าเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูง
3. โรครองช้ำ
รองช้ำ คือ อาการอักเสบบริเวณพังผืดใต้เท้า มักจะมีอาการเจ็บเท้าเวลาที่ลงน้ำหนัก มักเกิดจากการที่เท้ารองรับแรงกระแทกและน้ำหนักมากเกินที่ร่างกายจะทนรับไหวเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใส่รองเท้าพื้นแข็ง บาง ไม่ซัพพอร์ตเท้านั่นเอง ซึ่งหากใส่บ่อยๆ นานๆ ก็อาจจะส่งผลให้เท้าต้องรองรับแรงกระแทกมากและบ่อยเกินไป จนทำให้เป็นโรครองช้ำได้เช่นเดียวกัน
4. เอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบเป็นอาการบาดเจ็บ บวม แดงบริเวณเอ็นร้อยหวาย หากเป็นหนักอาจจะกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำวันและต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานซ้ำๆ เป็นมากกับนักวิ่งหรือผู้ที่ออกกำลังกายโดยไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง นอกจากนี้ การใส่รองเท้าส้นแบนเดินหรือใช้ชีวิตประจำวันบ่อยๆ ก็อาจจะส่งผลให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้ เนื่องจากรองเท้าส้นแบนไม่ซัพพอร์ตเท้าเหมือนกับรองเท้าสุขภาพ อาจจะทำให้เอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่องรับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
5. ปมประสาทเท้าอักเสบ
คุณผู้หญิงบางคนอาจจะเคยปวดเจ็บ หรือปวดแปล๊บๆ บริเวณระหว่างข้อนิ้วเท้า หรือมีอาการปวดบริเวณเนินเท้าในขณะที่ยืนหรือเดิน บางคนหายไปเมื่อพักเท้าสักครู่ หรือเปลี่ยนมาใส่รองเท้าสุขภาพสำหรับผู้หญิง แต่บางคนอาจจะเจ็บเรื้อรัง ซึ่งอาการดังกล่าวนี้บ่งชี้ว่าเราอาจจะเป็นโรคปมประสาทปลายเท้าอักเสบ สาเหตุที่สำคัญของโรคนี้เกิดจากการใส่รองเท้าแฟชั่นอย่างรองเท้าส้นแบน และรองเท้าส้นสูงที่บีบนิ้วเท้าและไม่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่ดีพอ
เลือกใส่รองเท้าสุขภาพผู้หญิงอย่างไรไม่ทำร้ายสุขภาพ
สำหรับสาวๆ ที่อยากจะสวยแบบสุขภาพเท้าดี ขอแนะนำให้เลือกรองเท้าสุขภาพสำหรับผู้หญิงที่ออกแบบให้รองรับและกระจายแรงกระแทกระหว่างการยืนและเดิน โดยมีหลักการเลือกใส่รองเท้าดังต่อไปนี้
• เลือกรองเท้าที่มีแผ่นรองเท้า (Insole) ไม่แบนเรียบเหมือนกระดาษ แต่ควรจะมีส่วนโค้งให้เข้ากับรูปเท้า ซึ่งความหนาของแผ่นรองเท้าที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับลักษณะเท้าและการเดินของแต่ละบุคคล
• พื้นรองเท้า (Outsole) ควรมีความหนาไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว และมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
• ขนาดรองเท้า ต้องพอดีกับเท้า หน้ารองเท้ากว้าง ไม่บีบ
• ซัพพอร์ตข้อเท้า หากว่าต้องเดินหรือวิ่งนานๆ ควรเลือกรองเท้าที่หุ้มข้อหรือรองรับข้อเท้า เพื่อป้องกันข้อเท้าแพลงหรืออาการบาดเจ็บอื่นๆ
• เลือกซื้อรองเท้าสุขภาพที่ออกแบบโดยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อให้เป็นรองเท้าที่เหมาะแก่การเดินหรือยืนนานๆ
• ไม่ควรใส่รองเท้าแฟชั่นติดต่อกันนานๆ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าส้นแบนหรือรองเท้าส้นสูง ควรสลับมาใส่รองเท้าสุขภาพสำหรับผู้หญิงเพื่อถนอมเท้าและข้อต่อต่างๆ
สำหรับใครที่กำลังมองหารองเท้าสุขภาพผู้หญิง สำหรับใส่ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดอาการเจ็บปวดหรือลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเท้า สามารถเลือกซื้อได้ที่ Fit For Feet by Verasu เรามีรองเท้าให้เลือกมากกว่า 400 แบบ เหมาะทั้งการใส่ในชีวิตประจำวัน ใส่ทำงาน หรือใส่ไปเที่ยว ใส่ได้นานไม่ปวดเท้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. Our Podiatrist Answers Are Flat Shoes Bad For Your Feet?. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.footcentregroup.com.au/are-flat-shoes-bad-for-your-feet/
2. Flat Shoes Can Cause Foot Problems for Women. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.mychicagofootexpert.com/blog/flat-shoes-can-cause-foot-problems-for-women#:~:text=Walking%20with%20flat%20shoes%20that,a%20lack%20of%20sole%20support.
3. ปวดส้นเท้าสัญญาณโรครองช้ำ. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/plantar-fasciitis-symptom
4. เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/achilles-tendinitis
ไขข้อข้องใจ รองเท้าวิ่งที่ถอดแผ่นรองฝ่าเท้าได้ ดีอย่างไร
-
ข้อดีของการตัดแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคลสำหรับการวิ่งทุกรูปแบบ
เมื่อพูดถึงรองเท้าวิ่ง หลายคนมักจะเชื่อมโยงถึงรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อให้ใส่สบาย และปลอดภัยระหว่างขยับร่างกาย ทั้งการเดินและการวิ่ง แต่รู้หรือไม่ว่า รองเท้าวิ่งบางรุ่นก็สามารถถอดแผ่นรองฝ่าเท้าออกมาทำความสะอาด หรือเปลี่ยนให้รับและพอเหมาะกับรูปเท้าของเราได้ ซึ่งจะช่วยลดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะคนที่เท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือมีปัญหาสุขภาพเท้าอื่น ๆ
เลือกรองเท้าวิ่งอย่างไรไม่ทำลายสุขภาพเท้า
แม้ว่าการวิ่งจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากว่าวิ่งไม่ถูกท่า หรือว่าวิ่งไม่ดี ก็อาจจะทำลายสุขภาพเท้าได้เช่นเดียวกัน เพราะทุกครั้งที่เราวิ่ง หัวเข่าและเท้าของเราต้องรองรับแรงกระแทกและน้ำหนัก ดังนั้น หากเราใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับรูปเท้า หรือไม่รองรับแรงกระแทกดีพอ อาจจะทำให้บาดเจ็บได้ง่าย โดยมีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้
เลือกรองเท้าวิ่งที่พอดีกับเท้า ไม่คับไม่หลวมจนเกินไป
เช่นเดียวกับรองเท้าอื่น ๆ ที่เราควรจะเลือกซื้อในช่วงเวลาเย็น ๆ ที่เราเดินไปนู่นมานี่จนเท้าของเราขยายเต็มที่แล้ว เพราะเวลาที่เราวิ่งเท้าของเราจะขยายเต็มที่นั่นเอง นอกจากนี้ ควรมีช่องว่างระหว่างปลายนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดกับปลายรองเท้าประมาณครึ่งนิ้ว เพื่อลดอาการบาดเจ็บระหว่างการวิ่ง
เลือกรองเท้าที่เหมาะกับการวิ่งบนพื้นผิวต่าง ๆ
การวิ่งบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน ควรใช้รองเท้าวิ่งที่แตกต่างกันออกไป เพื่อลดแรงกระแทกและปลอดภัยต่อสุขภาพเท้าของเรามากที่สุด
ปัจจุบันรองเท้าวิ่งจะแบ่งเป็น City Run, Trail และ Long Run ซึ่งจะมีการออกแบบเพื่อรองรับแรงกระแทกที่แตกต่างกันออกไป อย่างการวิ่งในลู่หรือวิ่งในเมืองบนพื้นเรียบจะถูกออกแบบให้พื้นรองเท้ามีความนุ่มมากกว่ารองเท้าวิ่งแบบ Trail หรือ Long Run ที่ต้องการความเบามากกว่า ซึ่งจะช่วยลดแรงกระแทกและลดอาการบาดเจ็บได้ดีกว่า
สำหรับการวิ่ง Trail ที่ต้องวิ่งตามพื้นที่ธรรมชาติ เจอกับดินโคลน ก้อนหินต่าง ๆ มากมาย จะถูกออกแบบให้ปกป้องเท้าของเราจากอันตรายระหว่างการวิ่ง และยังมีการหุ้มส่วนของข้อเท้าให้มีความกระชับ ปกป้องเท้าจากอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ส่วนรองเท้าวิ่งระยะไกลหรือ Long Run ควรเลือกรองเท้าที่พื้นรองเท้านุ่มหนา เพื่อรองรับแรงกระแทกซ้ำๆ เป็นเวลานาน
เลือกที่เหมาะกับรูปเท้า และสามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
รู้หรือไม่ รูปเท้าของเราส่งผลต่อการลงน้ำหนักเท้าระหว่างการวิ่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. Underpronation ส่วนใหญ่มักจะพบในคนที่อุ้งเท้าสูง โดยการลงน้ำหนักของเท้าจะเบนไปทางด้านนอก เป็นการวิ่งจากส้นเท้า ไปฝ่าเท้าด้านนอก และปลายเท้า จะเหมาะกับรองเท้าวิ่งที่มีความนุ่ม หรือ Cushioned
2. OverPronation มักจะพบในคนที่เท้าแบน โดยการลงน้ำหนักของเท้าจะเอียงมาทางด้านใน เป็นการวิ่งโดยลงน้ำหนักส้นเท้าไปฝ่าเท้า และปลายเท้าด้านใน จึงเหมาะกับรองเท้าวิ่งแบบ Motion-Control ที่ออกแบบมาเพื่อรับแรงกระแทก และควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าไม่ให้บาดเจ็บ
3. Neutral เป็นรองเท้าของคนปกติทั่วไป โดยจะลงน้ำหนักจากส้นเท้า ผ่านบริเวณกลางเท้า ไปจนถึงปลายเท้า ซึ่งทำให้สามารถเลือกรองเท้าวิ่งได้ทุกประเภท
อย่างไรก็ตาม หากว่าเราต้องการเพิ่มการปกป้องในการรองรับแรงกระแทก การเลือกรองเท้าวิ่งที่สามารถเปลี่ยนแผ่นรองใต้ฝ่าเท้า และตัดแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคลมาใส่แทน ก็จะช่วยให้รองเท้าวิ่งรองรับน้ำหนักของเราได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย
ทำไมต้องเปลี่ยนแผ่นรองฝ่าเท้าของรองเท้าวิ่ง
สำหรับใครที่สงสัยว่า “ทำไมต้องเปลี่ยนแผ่นรองฝ่าเท้าของรองเท้าวิ่ง” แค่ใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าอย่างเดียวพอหรือไม่
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารองเท้าวิ่งจะประกอบไปด้วย Outsole คือส่วนของพื้นรองเท้าด้านนอก ที่ต้องมีความแข็งแรง สามารถยึดเกาะกับพื้นได้เป็นอย่างดี และส่วนของ Insole ที่จะอยู่ติดกับเท้าของเรา การเปลี่ยนแผ่นรองฝ่าเท้าคือการเปลี่ยน Insole ให้สามารถช่วยรองรับแรงกระแทก และปรับสมดุลของการวิ่ง จึงช่วยลดอาการบาดเจ็บระหว่างการวิ่งได้
การตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคล เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าตั้งแต่ต้นเหตุ คือการปรับรองเท้าเดินและวิ่งให้ถูกต้องตามหลักสรีระ ตามรูปเท้าที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพราะแม้ว่าจะมีปัญหาเท้าแบนเหมือนกัน และลักษณะของรูปเท้าอาจจะแตกต่างกันก็ได้
ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการตรวจสุขภาพเท้าทั้งลักษณะของรูปเท้า และการลงน้ำหนัก เพื่อออกแบบแผ่นรองฝ่าเท้าที่เหมาะสม ปรับสรีระและโครงสร้างของร่างกายให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการวิ่งที่เท้าและเข่าต้องรองรับแรงกระแทกมากกว่าการเดินปกติ ซึ่งการเปลี่ยนแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าของรองเท้าวิ่ง มีข้อดีดังต่อไปนี้
• ออกแบบมาให้เหมาะกับรูปเท้าของเราโดยตรง โดยเฉพาะคนที่เท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูง ที่มีความแตกต่างจากรูปเท้าปกติ
• สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดีกว่ารองเท้าวิ่งทั่ว ๆ ไป เพราะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักเฉพาะบุคคลโดยเฉพาะ
• สามารถเปลี่ยนเฉพาะแผ่นรองฝ่าเท้าได้ เมื่อเราใช้รองเท้าวิ่งไปสักพัก แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าจะยุบตัวจากแรงกระแทก แต่แทนที่เราจะต้องเปลี่ยนรองเท้าใหม่ทั้งคู่ เราอาจจะเปลี่ยนแค่แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าได้
• ช่วยปรับรูปเท้าในเวลาวิ่ง ทำให้วิ่งได้ดียิ่งขึ้น
• ลดโอกาสการบาดเจ็บ ทั้งในส่วนของข้อเท้า และข้อเข่าที่ต้องรองรับแรงกระแทกตลอดเวลา
ขั้นตอนในการตัดแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคลสำหรับการวิ่ง
Fit For Feet by Verasu มีนักกายภาพบำบัดและทีมผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเท้า เพื่อตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมสำหรับการวิ่งและกีฬาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นรองเท้าสำหรับเท้าแบน อุ้งเท้าสูง รองช้ำ หรือปัญหาสุขภาพเท้าอื่น ๆ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ตรวจวัดสุขภาพเท้า โดยเดินผ่านเครื่องสแกน 3D ดูแลและให้คำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้า
2. ออกแบบและสร้างแบบด้วยโปรแกรมลิขสิทธิ์จากประเทศเยอรมนี
3. ตัดแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคล โดยเลือกประเภทของวัสดุที่ใส่กับรองเท้ากีฬา เพื่อการรองรับแรงกระแทกและปรับสมดุลการวิ่ง
สำหรับผู้ที่เป็นนักวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพหรือวิ่งแข่ง หากต้องการเลือกรองเท้าวิ่งที่ใช่ อย่าลืมเลือกแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้าและลักษณะการวิ่งของเรา โดยสามารถใช้บริการตัดแผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคลสำหรับการวิ่งได้ที่ Fit For Feet by Verasu สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. The Beginner’s Guide to Pronation. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.healthline.com/health/beginners-guide-to-pronation
2. How To Choose The Right Running Shoes For You. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://www.runnersneed.com/expert-advice/gear-guides/choosing-the-right-running-shoes.html
-
แนะนำรองเท้าใส่สบาย สำหรับคนเจ้าเนื้อ เพื่อดูแลปกป้องเท้า
-
-
แนะวิธีถนอมสุขภาพเท้า และเลือกรองเท้าใส่สบาย สำหรับคนอ้วน
สำหรับผู้ที่มีรูปร่างใหญ่ น้ำหนักตัวมาก และเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน คงหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเท้าได้ยาก ยิ่งถ้าประกอบอาชีพที่ต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานาน อาการของโรคที่เกิดกับเท้ามักจะรุนแรงและลุกลามขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากการควบคุมและลดน้ำหนักแล้ว การเลือกใช้รองเท้าเพื่อสุขภาพที่สวมใส่สบาย นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่จะช่วยดูแลและถนอมสุขภาพเท้าของคุณ
คนอ้วน! เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพเท้าอย่างไรบ้าง?
คนที่เป็นโรคอ้วนมักมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันเกาะตับ ซึ่งล้วนแล้วแต่อันตรายและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักเกิดกับคนอ้วน คือ ปัญหาสุขภาพเท้า เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรองรับน้ำหนักตัวของคุณอยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เท้าก็ยิ่งต้องรับแรงกดจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้นเช่นกัน
ปัญหาสุขภาพเท้าที่เกิดขึ้นกับคนอ้วน
กระดูกเท้าแตกร้าว
คนอ้วนที่ต้องวิ่งหรือเดินเป็นเวลานานๆ กล้ามเนื้อเท้าจะอ่อนล้าจากการรับแรงกดของน้ำหนักตัว เมื่อกล้ามเนื้อรับน้ำหนักไม่ไหว ก็จะส่งแรงกดน้ำหนักไปยังกระดูกเท้าโดยตรง ส่งผลให้เวลาเดินหรือวิ่ง กระดูกเท้าจึงต้องรับการกระแทกแรงๆ อยู่บ่อยครั้ง จนอาจเกิดการแตกร้าวได้
อาการเท้าแบน
อาการเท้าแบนมักมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ แต่สำหรับคนอ้วนก็มีอาการเท้าแบนได้ด้วยเช่นกัน เพราะเกิดจากการที่เท้าต้องรับน้ำหนักตัวมากกว่าคนปกติ และได้รับความเจ็บปวดจากแรงกดที่ฝ่าเท้า
คนอ้วนส่วนมากมักเลือกใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้า เพราะคิดว่าเป็นรองเท้าใส่สบาย แต่ความจริงแล้วการเลือกสวมใส่รองเท้าที่ไม่มีส่วนรองรับอุ้งเท้า ยิ่งส่งผลให้เกิดอาการเท้าแบนได้มากยิ่งขึ้น
อาการปวดส้นเท้า
กระดูกส้นเท้า ซึ่งเป็นจุดยึดเกาะของเอ็นร้อยหวายและพังพืดฝ่าเท้า เป็นจุดที่รับน้ำหนักมากที่สุดของเท้า คนที่มีน้ำหนักตัวมาก เมื่อยืนหรือเดินนานๆ น้ำหนักที่กดลงไปยังส้นเท้าจะส่งผลให้เกิดอาการปวดได้ และการสวมรองเท้าที่ดูเหมือนจะใส่สบาย แต่ไม่รองรับอุ้งเท้าและแรงกระแทก ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดได้มากขึ้นเช่นกัน
ความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาที่เท้าจากโรคเบาหวาน
สำหรับคนอ้วนที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน มักจะเกิดปัญหาสุขภาพเท้าได้มาก เพราะหลอดเลือดตีบแคบ เลือดจึงไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมถึงมีอาการเส้นประสาทที่เท้าเสื่อม ทำให้เกิดความบกพร่องหรือสูญเสียระบบสัมผัสรับรู้ เมื่อมีแผลที่เท้าจึงไม่รู้สึกเจ็บและไม่ค่อยรู้ตัว รวมไปถึงทำให้แผลหายช้า เพราะเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ถ้าหากแผลติดเชื้ออาการจะยิ่งลุกลามและอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาเลยทีเดียว
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์
โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งมักมีอาการปวดบวมที่ข้อเท้าหรือหัวแม่เท้า มีสาเหตุจากการสะสมของกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งโดยปกติกรดยูริกจะถูกขับออกทางไต แต่ถ้าขับออกไม่หมด ก็จะกลายเป็นผลึกที่สะสมในข้อต่อของกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดได้
โรคเกาต์เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นอย่างมาก โดยการรับประทานอาหาร เช่น หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ยอดผักต่างๆ ซึ่งมีกรดยูริกสูงจะทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ ดังนั้นคนอ้วนที่มักขาดวินัยในการรับประทานอาหาร จึงมักเสี่ยงกับการเกิดโรคเกาต์ได้
โรคข้อเข่าเสื่อม
สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมาก เวลาเดินจะมีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากขึ้น 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว เมื่อเกิดแรงกระทำซ้ำๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่ข้อเข่า และนำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อมได้
แนะนำวิธีถนอมสุขภาพเท้าสำหรับคนอ้วน
1. ลดความอ้วน และควบคุมน้ำหนักตัว ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เท้าของคุณ ไม่ต้องรับแรงกดและแรงกระแทกมากจนเกินไป
2. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ (Low-impact Exercise) เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน และการแอโรบิกในน้ำ วิธีออกกำลังกายเหล่านี้ยังช่วยบรรเทาการเจ็บเท้าได้อีกด้วย
3. เลือกใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ รองเท้าใส่สบายที่สามารถรองรับอุ้งเท้าของคุณ และรับแรงกระแทกจากน้ำหนักตัว เพื่อผ่อนแรงกระแทกที่ส่งไปถึงเท้า จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพเท้า
รองเท้าใส่สบายสำหรับคนอ้วนควรเป็นอย่างไร?
1. ควรเลือกรองเท้าที่มีน้ำหนักเบา ขนาดพอดี นุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง และมีแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่มีมาตรฐาน รองรับอุ้งเท้าได้อย่างพอเหมาะ เพื่อช่วยรับแรงกดฝ่าเท้าและรับแรงกระแทก ช่วยถนอมสุขภาพเท้าได้เป็นอย่างดี
2. ควรเลือกรองเท้าที่ผลิตจากวัสดุคุณภาพ เช่น หนังแท้ที่มีความนุ่ม เพื่อลดการเสียดสีของรองเท้า ปกป้องเท้าจากปัญหารองเท้ากัด และยังช่วยป้องกันเท้าจากการเกิดบาดแผลได้อีกด้วย
3. สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวมาก ไม่แนะนำให้ใส่รองเท้าส้นสูง เพราะรองเท้าส้นสูงจะเพิ่มแรงกดให้กระดูกเท้าส่วนหน้า ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บปวดได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าพื้นแบน ที่ไม่มีตัวช่วยพยุงอุ้งเท้า จะทำให้ฝ่าเท้าได้รับแรงกดและแรงกระแทก จนเกิดอาการปวดฝ่าเท้าได้
สำหรับคนอ้วนที่กำลังมองหารองเท้าเพื่อสุขภาพ หรือรองเท้าใส่สบาย Fit For Feet by Verasu มีรองเท้าให้เลือกหลากหลาย ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างลงตัว พร้อมบริการตรวจสุขภาพเท้าฟรี โดยตรวจอย่างละเอียดทั้งรูปเท้า การลงน้ำหนัก และจังหวะการเดิน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริง รวมทั้งมีบริการตัดแผ่นรองอุ้งเท้าเฉพาะบุคคล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. Foot Problems & Obesity: How Excessive Weight Can Affect Your Feet & Ankles สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.footandanklegroup.com/foot-problems-obesity-how-excessive-weight-can-affect-your-feet-ankles/
2. How can obesity affect your foot health? สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.citywayost.co.uk/articles/how-obesity-can-affect-your-foot-health#:~:text=Being%20overweight%20and%20obese%2C%20places,skin%20problems%20on%20the%20feet.
เช็กปัญหาสุขภาพเท้ายอดฮิตของผู้หญิงและผู้ชายที่ทุกคนต้องรู้
-
ปัญหาสุขภาพเท้าและรองเท้าสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพเท้า
ปัญหาสุขภาพเท้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปตามสรีระ กิจกรรม และไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมือนกัน วันนี้เราเลยชวนทุกคนมาเช็กปัญหาสุขภาพเท้ายอดฮิตของผู้หญิงและผู้ชายว่ามีอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงทำไมเราจึงต้องเลือกใส่รองเท้าสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า
คุณผู้หญิงเช็กด่วน เราเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพเท้าหรือไม่
หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องปัญหาสุขภาพเท้าของผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ทำให้ปวดเท้า ตึงน่อง เท้าพลิก เอ็นข้อเท้าอักเสบ และอีกสารพัดปัญหา ที่เกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่ซัปพอร์ตการยืนและเดิน แต่ปัญหาสุขภาพเท้าของผู้หญิง ไม่ได้มีแค่การใส่รองเท้าส้นสูงเท่านั้น แต่มีมากกว่าที่คิด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพเท้ามากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพเท้า
• ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ผู้หญิงกับรองเท้าส้นสูงเป็นสิ่งที่ตัดกันไม่ขาด โดยเฉพาะผู้ที่มีรูปร่างเล็ก หรือมีส่วนสูงไม่มาก การใส่รองเท้าส้นสูงจะช่วยให้ช่วงขาของเราดูเพรียวสวย แต่ความสวยก็มาพร้อมกับปัญหาสุขภาพที่ตามมา เพราะไม่เพียงแค่ปวดเท้า อาจจะทำให้ปวดน่อง กระดูกเท้าผิดรูป และลามไปปวดหลังปวดคอตามมา ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงติดต่อกันนานเกินกว่า 2-3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าในระยะยาวได้
• การใช้รองเท้าแบนเกินไป หลายคนคิดว่าการใส่รองเท้าแบนๆ ดีต่อสุขภาพเท้า นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เราควรจะใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่นุ่มและซัปพอร์ตเท้าทุกอิริยาบถ เพื่อป้องกันการปวดเท้าในเวลาที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ
• การตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและรูปร่าง ทำให้เท้าต้องรับน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไป และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าได้ จึงต้องเลือกรองเท้าที่สามารถรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี
• อายุ ในแต่ละช่วงอายุ เท้าของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยิ่งช่วงที่อายุเพิ่มมากขึ้น ไขมันบริเวณฝ่าเท้าก็เริ่มบางลง ทำให้ส้นเท้าต้องรับแรงกระแทกมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าตามมา
ปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อยในผู้หญิง
จากพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้น หากว่าเราไม่ดูแลสวมใส่รองเท้าสุขภาพที่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้อย่างดี หรือใส่รองเท้าที่ส้นสูงหรือส้นแบนมากๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องประจำทุกวัน อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าดังต่อไปนี้
• ปวดน่อง ปวดหลัง อันเนื่องมาจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือใส่รองเท้าแฟชั่นที่แบนมากเกินไป
• นิ้วหัวแม่เท้าเอียงหรือเก เกิดจากการที่ผู้หญิงมักจะสวมใส่รองเท้าหน้าแคบหรือบีบเป็นประจำ ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าบิดเข้าด้านใน จนมีอาการปวดและนูนออกมา และอาจจะทำให้อักเสบ ส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าไม่สามารถช่วยรับน้ำหนักได้ ทำให้ฝ่าเท้าและนิ้วที่เหลือต้องรับน้ำหนักแทน
• เอ็นข้อเท้าอักเสบ เนื่องจากผู้หญิงมีไขมันบริเวณฝ่าเท้าที่บางกว่าผู้ชาย ทำให้เท้าไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่มากเท่าผู้ชาย การใส่รองเท้าที่ทำร้ายสุขภาพเท้าเป็นประจำก็อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย
• เอ็นร้อยหวายอักเสบ ที่จริงแล้วอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบสามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เกิดขึ้นจากการที่เราใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆ จนเกิดความเครียดและอักเสบขึ้นได้ มักเกิดกับผู้ที่วิ่งเป็นประจำ หรือการใส่ส้นสูงบ่อยๆ
• เอ็นหลังเท้าอักเสบ เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงหรือใส่รองเท้าที่คับเกินไป ไม่พอดีกับรูปเท้า ทำให้เกิดการอักเสบ และเจ็บได้ง่าย
ปัญหาสุขภาพเท้าของผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงและการใส่รองเท้าแฟชั่นนานเกินไป ดังนั้น หากว่าเราจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง ควรจำกัดเวลาไม่ให้เกิน 2-3 ชั่วโมง เพื่อถนอมสุขภาพเท้าของเรา
ผู้ชายเสี่ยงปัญหาสุขภาพเท้าแค่ไหน
แม้ว่าผู้ชายจะไม่ได้ใส่รองเท้าส้นสูงเหมือนอย่างผู้หญิง และตามสถิติแล้วมีปัญหาสุขภาพเท้าน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตาม เรายังพบว่าผู้ชายมีปัญหาสุขภาพเท้าที่เกิดจากกิจกรรมและปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
พฤติกรรมที่เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพเท้า
• การออกกำลังกายหนักจนเกินไป การออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราไม่ควรจะออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งหรือยกเวทแบบหักโหม นอกจากนี้ เราควรจะเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายแต่ละประเภท เพื่อช่วยซัปพอร์ตไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย
• น้ำหนักมากกว่าปกติ ปัญหาน้ำหนักเกินเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ชายมักเป็นกันบ่อย และส่งผลให้เท้าต้องรับน้ำหนักมากกว่าเดิม
• การใส่รองเท้าที่แน่นเกินไป หลายคนเลือกซื้อรองเท้าตอนที่เท้ายังไม่ขยายเต็มที่ หรือบางคนเลือกซื้อรองเท้าที่พอดีมากหรือคับเล็กน้อย เพราะคิดเผื่อว่ารองเท้าจะขยาย แต่ไปๆ มาๆ กลับคับแน่นจนเกินไป ซึ่งการใส่รองเท้าที่แน่นมากเป็นเวลานานอาจจะทำให้ปวดเท้า และนิ้วเท้าผิดรูปเช่นเดียวกันการใส่รองเท้าหน้าแคบของสาวๆ ได้เช่นกัน
• การใส่รองเท้าที่หลวมเกินไป มีคนจำนวนมากคิดว่าการใส่รองเท้าที่หลวมนิดๆ จะดีต่อสุขภาพเท้า และทำให้ใส่สบาย ที่จริงเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการใส่รองเท้าที่หลวมเกินไปจะทำให้เราเกร็ง และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อยในผู้ชาย
แม้ว่าพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ชายจะมีความแตกต่างจากผู้หญิง แต่ก็มีบางปัญหาสุขภาพเท้าที่มีความคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้
• โรครองช้ำ มักพบในนักวิ่ง หรือผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำ ทำให้เกิดอาการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่มระยะทางในการวิ่งหรือความเร็วในการวิ่งแบบกะทันหัน ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
• เล็บขบนิ้วเท้า มักเกิดจากการตัดเล็บที่สั้นเกินไป หรือการใส่รองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป ทำให้เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนัง จนเจ็บ บวม แดง หรือติดเชื้อได้
• เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มักจะเกิดจากการวิ่งหรือการเล่นกีฬาที่มีการหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน จนเกิดแรงดึงซ้ำๆ ทำให้บาดเจ็บได้
ทำไมใส่รองเท้าสุขภาพจึงแก้ปัญหาสุขภาพเท้าได้
เราสามารถแยกรองเท้าสุขภาพออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ รองเท้าสุขภาพสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาสุขภาพเท้า และรองเท้าสุขภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า
คุณสมบัติของรองเท้าสุขภาพทั่วไป
• ออกแบบโดยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีความเข้าใจเรื่องสุขภาพเท้าอย่างแท้จริง
• มีแผ่นรองฝ่าเท้าที่สามารถรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้ดี สามารถใส่ยืนหรือเดินนานๆ ได้โดยที่ไม่เจ็บเท้า
• น้ำหนักเบา หน้ารองเท้ากว้าง มีความยืดหยุ่น เดินสบาย ไม่ทำให้เมื่อยเท้า
คุณสมบัติของรองเท้าสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า
• ออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้าแต่ละแบบโดยเฉพาะ จึงช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าได้อย่างตรงจุด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา
• ช่วยลดแรงกระแทกและช่วยรองรับน้ำได้ดียิ่งขึ้น ลดอาการเจ็บปวด และป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าในระยะยาว
• สามารถเปลี่ยนแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคล เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าที่แตกต่างกันออกไป ช่วยทำให้การดูแลรักษาสุขภาพเท้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่กำลังมองหารองเท้าสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า Fit For Feet by Verasu เรามีรองเท้าให้เลือกหลากหลาย พร้อมบริการตรวจสุขภาพเท้าฟรี โดยตรวจทั้งรูปเท้า การลงน้ำหนัก และการเดิน เพื่อทราบปัญหาที่แท้จริง รวมถึงมีบริการตัดแผ่นรองอุ้งเท้าเฉพาะบุคคล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. Footwear. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://www.ontariochiropodist.com/Public/women-foot-health.html#:~:text=Women%20have%20about%204%20times,%2Dfitting%2C%20high%20heeled%20shoes.
2. YES, THERE ARE FOOT CONDITIONS THAT ARE ESPECIALLY PREVALENT IN MEN AND BOYS!. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://www.footankleinstitute.com/blog/6-common-foot-problems-that-affect-men-and-boys-2/
-
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จ VS แบบสั่งตัดต่างกันอย่างไร
-
-
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จต่างจากสั่งตัดอย่างไร แบบไหนดีกว่า
"แผ่นรองอุ้งเท้า" หรือ Insole มีความสำคัญต่อการเดินและการยืนของเรามากกว่าที่คิด เพราะเป็นส่วนประกอบที่ช่วยรองรับสรีระเท้า สร้างสมดุลในการยืนและเดิน รวมถึงช่วยรองรับน้ำหนักและกระจายแรงกระแทกอีกด้วย
การเลือกแผ่นรองอุ้งเท้าที่มีคุณภาพดีเหมาะกับลักษณะอุ้งเท้าของเราจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่อุ้งเท้าสูงหรือเท้าแบน แต่หลายคนมีคำถามว่า หากเราใช้แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จจะเพียงพอหรือไม่ หรือควรจะลงทุนสั่งตัดแผ่นรองอุ้งเท้าเฉพาะบุคคลจึงจะดีกับสุขภาพเท้าของเรามากกว่ากัน
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จ (Prefabricated)
สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า ไม่ว่าจะเป็นเท้าแบน อุ้งเท้าสูง รองช้ำ หรือเป็นโรคเบาหวาน การสวมใส่รองเท้าทั่วไป และใช้แผ่นรองอุ้งเท้าที่ติดมากับรองเท้าอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าเพิ่มมากขึ้นหากยังไม่รีบแก้ไข ด้วยเหตุนี้ จึงมีการคิดค้นแผ่นรองฝ่าเท้าแบบสำเร็จสำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพเท้า หรือมีลักษณะของอุ้งเท้าที่แตกต่างจากคนทั่วไป
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จ (Prefabricated) ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้า ซึ่งเราจะต้องเลือกให้ตรงตามสภาพปัญหาของเรา
1. คนเท้าแบน คือ คนที่มีฝ่าเท้าแบนราบไปกับพื้น มีส่วนโค้งเว้าบริเวณกลางฝ่าเท้าน้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้การเดินไม่สมดุล หากใส่รองเท้าปกติอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า ตั้งแต่การเจ็บเท้า ฝ่าเท้า ปวดขา ไปจนถึงปวดหลัง หรือกระดูกเท้าผิดรูป แผ่นรองฝ่าเท้าสำหรับคนเท้าแบนจึงออกแบบให้ช่วยพยุงเท้าและมีการหนุนพื้นที่บริเวณอุ้งเท้า เพื่อสร้างสมดุลในการยืนและเดิน
2. คนอุ้งเท้าสูง คือ คนที่มีฝ่าเท้าหรือมีอุ้งเท้าสูงกว่าปกติ กล่าวคือ มีส่วนโค้งเว้ามากกว่าคนทั่วไป ทำให้การเดินไม่สมดุล ส้นเท้ารับน้ำหนักมากกว่าปกติ ทำให้ข้อเท้าผิดรูป หรือพลิกได้ง่าย สำหรับแผ่นรองอุ้งเท้าสำหรับคนที่อุ้งเท้าสูงจะเน้นไปที่การเติมอุ้งเท้า ช่วยรับน้ำหนักและแรงกระแทก เพื่อไม่ให้ส้นเท้ารับน้ำหนักมากเกินไป
ประเภทของแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จ
เราสามารถแบ่งแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. แบบเต็มฝ่าเท้า มีลักษณะเหมือนกับ Insole ของรองเท้าปกติทั่วไป แต่มีการออกแบบส่วนโค้งส่วนเว้าให้ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเท้าที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล
2. แบบเฉพาะส่วน ออกแบบให้ช่วยรองรับหรือเสริมแค่บางจุดของเท้าที่มีปัญหา เช่น บริเวณอุ้งเท้า โดยจะมีทั้งแบบติดที่รองเท้า และแบบที่ติดกับฝ่าเท้า
ข้อดีและข้อจำกัดของแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จ
ข้อดี คือ ความสะดวกสบาย หาซื้อง่าย และได้รับสินค้าในวันที่ซื้อได้ทันที ที่สำคัญคือราคาถูก ราคาเริ่มต้นที่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน
ข้อจำกัด คือ สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้าในระยะเริ่มต้น หรือมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับคนที่เริ่มปวดเท้าบ่อยๆ หรือกระดูกเริ่มผิดรูปไปจากปกติ แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าได้เท่าที่ควร จึงขอแนะนำให้ใช้แบบสั่งตัดมากกว่า นอกจากนี้ แบบสำเร็จส่วนใหญ่จะผลิตออกมาจำกัดไม่กี่ประเภท กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะมีแต่แผ่นรองของผู้ที่เท้าแบนมากกว่าปัญหาสุขภาพเท้าอื่นๆ
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสั่งตัด (Custom-made)
เป็นแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่ตัดมาเพื่อรองรับสรีระเท้าของบุคคลนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งจะเหมาะทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้าอย่างเท้าแบน อุ้งเท้าสูง รวมไปถึงคนที่ใส่ใจในปัญหาสุขภาพเท้า หรือคนที่มีอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินทั้งวัน
แผ่นรองอุ้งเท้าแบบสั่งตัดจะแตกต่างจากแบบสำเร็จ ตรงที่เราไม่จำเป็นต้องมีปัญหาสุขภาพเท้า ก็สามารถสั่งตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่เหมาะสมกับเราได้ ซึ่งจะช่วยให้เรายืนและเดินสบายยิ่งขึ้น และสำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพเท้า ไม่ว่าจะเป็นเท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือแม้แต่โรครองช้ำที่เริ่มเจ็บเท้าบ่อยๆ การที่เราสั่งตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่รองรับสรีระเท้าของเราโดยเฉพาะ จะช่วยป้องกันอาการเจ็บปวดที่เกิดตามมา ไม่ว่าจะเป็นการปวดส้นเท้า ปวดเข่า หรือปวดหลัง รวมถึงช่วยป้องกันกระดูกเท้าผิดรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ แม้ว่าเราจะมีอุ้งเท้าสูง หรือเท้าแบนเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริง รูปเท้าและปัญหาสุขภาพเท้าของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น แม้ว่าคนสองคนมีปัญหาเรื่องเท้าแบนเหมือนกัน แต่คนแรกเกิดจากเอ็นเสื่อมสภาพ และอีกคนเกิดจากกระดูกเท้าผิดรูป หากซื้อแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสำเร็จก็อาจจะได้แผ่นรองแบบเดียวกัน แต่หากซื้อแบบสั่งตัด จะมีการแก้ไขการรองรับน้ำหนักและปรับสมดุลของแต่ละคนได้อย่างตรงจุดมากกว่า
ประเภทของแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสั่งตัด
เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. การใช้เครื่องสแกนแบบ 2D เป็นการสแกนรูปเท้าโดยการยืน จากนั้นจะตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าตามรูปเท้า ซึ่งได้แผ่นรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าเท่านั้น ไม่ได้วิเคราะห์การลงน้ำหนักและการเดิน
2. การใช้เครื่องสแกนแบบ 3D เป็นการตรวจวัดสภาพเท้าผ่านการเดินด้วยเครื่อง 3D Scan ซึ่งจะวิเคราะห์ถึงการลงน้ำหนักขณะเดิน และปัญหาสุขภาพเท้าต่างๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ เนื่องจากปัญหาสุขภาพเท้าจะเห็นได้อย่างชัดเจนตอนเดินมากกว่าตอนยืน จากนั้นจะตัดแผ่นรองอุ้งเท้าตามสภาพปัญหา เพื่อปรับสมดุลการยืนและการเดินให้ดียิ่งขึ้น
ข้อดีและข้อจำกัดของแผ่นรองอุ้งเท้าแบบสั่งตัด
ข้อดี คือ สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าเฉพาะบุคคลอย่างได้ผลจริง เพราะมีการสแกนเท้าและวิเคราะห์การลงน้ำหนักเวลายืนและเดินของแต่ละคน
ข้อจำกัด คือ หลังจากตรวจวัดสภาพเท้าแล้ว จะต้องรอตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าอย่างน้อย 1-2 วัน
สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท้า หรือต้องการดูแลสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ Fit For Feet by Verasu เราให้บริการตรวจสุขภาพเท้าอย่างรอบด้าน ทั้งรูปเท้า การลงน้ำหนัก และการเดิน รวมถึงมีบริการตัดแผ่นรองอุ้งเท้าเฉพาะบุคคล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
ที่มา :
1. ปัญหาเท้าแบนเท้า เท้าแป เท้าเป็ด (Flat Feet) ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565 จาก https://www.thedoctorbone.com/ปัญหาเท้าแบน-โดยคลินิกห/
ใช้บริการตรวจวัดเท้า เช็กให้ชัวร์ เราอุ้งเท้าสูงหรือไม่!?
-
ปัญหาอุ้งเท้าสูงที่เราต้องใส่ใจ รู้ได้ด้วยบริการตรวจวัดเท้า
ปัญหาอุ้งเท้าสูง เกิดกับประชากร 20% และบางคนไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าเรื้อรังตามมา เช็กง่าย ๆ ด้วยตนเองหรือใช้บริการตรวจวัดเท้าจากผู้เชี่ยวชาญ
คนอุ้งเท้าสูง คือ คนที่มีความโค้งของฝ่าเท้าหรืออุ้งเท้ามากกว่าปกติ ทำให้เวลายืนและเดิน น้ำหนักที่กดทับและกระแทกลงบริเวณฝ่าเท้าจะมากกว่าคนที่มีฝ่าเท้าปกติ หากไม่ได้ใส่รองเท้าที่ช่วยซัพพอร์ตเท้าลักษณะนี้โดยเฉพาะ อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพเท้าตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บบริเวณส้นเท้า อุ้งเท้า และข้อเท้า รวมถึงเวลาเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกายอาจมีโอกาสข้อเท้าพลิกได้ง่าย หากใครยังไม่แน่ใจ ลองใช้บริการตรวจวัดเท้า เพื่อดูว่าฝ่าเท้าของเราปกติหรือไม่
ปกติแล้ว เราไม่ค่อยพบคนที่มีลักษณะอุ้งเท้าสูงมากนัก คิดเป็นประมาณ 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสาเหตุของการเกิดอุ้งเท้าสูงมีความแตกต่างกันออกไป
สาเหตุของอุ้งเท้าสูง
สำหรับสาเหตุของอุ้งเท้าสูง เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ดังนี้
1. กรรมพันธุ์ หรืออุ้งเท้าสูงโดยกำเนิด
2. ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ มีสาเหตุจากโรคต่างๆ จนทำให้รูปเท้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเราอาจมีอุ้งเท้าสูง
เรามาสังเกตกันดีกว่าว่า เราเป็นคนหนึ่งที่อุ้งเท้าสูงหรือไม่ โดยสังเกตลักษณะเท้า การเดิน และอาการดังต่อไปนี้
• เจ็บเท้าเวลาเดินหรือยืน
• ข้อเท้าเคล็ดง่าย หรือบ่อยกว่าปกติ
• เวลายืน ส้นเท้าจะเอียงเข้าด้านใน
• นิ้วเท้าจิกลงไปที่พื้นมากกว่าปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเท้าที่ต่างไปจากปกติ
• ความยาวของเท้าหดสั้นลงกว่าเดิม หารองเท้าใส่ยากขึ้น เนื่องจากเท้าโค้งงอและสั้นลง
สำหรับผู้ที่มีโรคความบกพร่องเกี่ยวกับไขสันหลัง กล้ามเนื้อเสื่อม ภาวะสมองพิการ โปลิโอ เนื้องอกกระดูกสันหลัง การบาดเจ็บไขสันหลัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคพันธุกรรมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ควรสังเกตลักษณะเท้า รวมถึงการยืนและเดินเป็นประจำ เนื่องจากลักษณะอุ้งเท้ามีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ หากคนในครอบครัวมีประวัติอุ้งเท้าสูง ก็มีโอกาสที่เราจะมีความผิดปกติดังกล่าวเช่นเดียวกัน จึงควรตรวจวัดเท้าตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าตามมา
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอุ้งเท้าเราสูง?
1. ตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง เพียงแค่เราจุ่มเท้าลงในน้ำให้เปียก จากนั้นประทับฝ่าเท้าลงบนแผ่นกระดาษ แล้วดูรอยเท้าบนกระดาษ หากฝ่าเท้าของเราปกติ บริเวณกลางฝ่าเท้าจะคอดเว้าลงไปประมาณกึ่งกลางของหน้าเท้า แต่หากเว้าคอดไปเยอะแสดงว่าเรามีลักษณะของอุ้งเท้าสูง แต่หากว่าตรงกลางฝ่าเท้าไม่ค่อยคอดแสดงว่าเราเท้าแบน
2. บริการตรวจวัดเท้า โดยผู้เชี่ยวชาญ สำหรับคนที่ต้องการใส่รองเท้าที่เหมาะกับสุขภาพเท้า สามารถเข้ารับบริการตรวจวัดเท้าโดยผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะทราบความโค้งของฝ่าเท้าแล้ว ยังทราบลักษณะการลงน้ำหนักเมื่อยืนหรือเดินอีกด้วย
3. เอกซเรย์ เราสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าจากแพทย์โดยการเอกซเรย์ ซึ่งนอกจากจะตรวจความผิดปกติของฝ่าเท้าแล้ว ยังสามารถตรวจดูโครงสร้างของกระดูกที่ผิดปกติได้อีกด้วย
ปัญหาสุขภาพของคนอุ้งเท้าสูง
คนที่อุ้งเท้าสูงมักจะมีปัญหาสุขภาพเท้าและต้องเข้ารับการรักษาดังต่อไปนี้
• อาการปวดฝ่าเท้าบริเวณด้านหน้า (Metatarsalgia) เป็นอาการปวดและตึงบริเวณปุ่มตรงกระดูกฝ่าเท้าส่วนหน้า (Forefoot) มักเกิดจากบริเวณดังกล่าวรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้มีอาการปวดตามแนวของกระดูกที่รับน้ำหนักนั้น
• โรครองช้ำ (Plantar fasciitis) เกิดจากการที่พังผืดรับแรงกระแทกมากเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดแรงตึงตัวจนเกิดการอักเสบในที่สุด ทำให้มีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในแปล๊บๆ ในช่วงเช้า และหลังยืนหรือพักเท้าเป็นระยะเวลานาน
• นิ้วเท้างอจิก (Claw toes) หรือหงิกงอผิดปกติ (Hammer toe) ทำให้เจ็บเท้าและเกิดแผลที่เท้าตามมา และส่งผลทำให้กระดูกผิดรูป หากปล่อยไว้นานเกินไปจนอาการหนัก อาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด
วิธีดูแลสุขภาพเท้าในเบื้องต้น
สำหรับผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง สามารถดูแลสุขภาพเท้าของตัวเองได้ดังต่อไปนี้
1. ใส่รองเท้าสุขภาพที่เหมาะสำหรับคนอุ้งเท้าสูงโดยเฉพาะ หรือตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า เพื่อช่วยกระจายและรองรับน้ำหนักที่กดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการช่วยปรับสมดุลการยืนและเดิน
2. ใส่แผ่นพยุง หรือแผ่นซิลิโคนบริเวณฝ่าเท้า เพื่อช่วยรักษาสมดุลในการเดินและยืน
3. บริหารฝ่าเท้าเป็นประจำ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และช่วยสร้างสมดุลให้แก่สุขภาพเท้า โดยมีท่าบริหารซึ่งควรทำเป็นประจำทุกวัน ดังต่อไปนี้
• นั่งลงกับพื้น เหยียดขาตรง นำผ้าขนหนูหรือผ้าอื่นๆ ที่นุ่มและยาวมารั้งบริเวณฝ่าเท้า แล้วใช้มือดึงจนนิ้วเท้าตึง ค้างไว้สักพัก แล้วปล่อย
• วางผ้าลงกับพื้น จากนั้นใช้นิ้วเท้าจิกผ้าขึ้นมาแล้วปล่อย ทำซ้ำข้างละ 3-4 ครั้ง
• ยืนหน้ากำแพง ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งไปข้างหน้า ยกมือขึ้นยันกำแพงแล้วออกแรงดันเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 25 วินาทีแล้วเปลี่ยนข้าง
4. ประคบเย็น ให้นำ Ice pack ที่ห่อด้วยผ้าขนหนูมาประคบบริเวณฝ่าเท้าวันละประมาณ 20 นาที เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและปวดได้ ซึ่งเหมาะกับอาการอักเสบในระยะแรก อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประคบเกิน 20 นาที และควรระวังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกเสื่อมลง หากประคบเย็นมากหรือนานเกินไป อาจจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อบริเวณเท้าได้เช่นกัน
แม้ว่าอุ้งเท้าสูงจะทำให้เราปวดข้อเท้า หรือใช้ชีวิตประจำวันยากกว่าคนที่มีอุ้งเท้าปกติ แต่เราสามารถดูแลสุขภาพเท้าและแก้ไขในเบื้องต้นได้ ด้วยการเลือกใช้แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าสำหรับคนอุ้งเท้าสูงโดยเฉพาะ และหากใครไม่แน่ใจว่าตนเองมีลักษณะอุ้งเท้าสูงหรือไม่ สามารถเข้ารับบริการตรวจวัดเท้าได้ที่ร้าน Fit For Feet by Verasu เราให้บริการตรวจสุขภาพเท้าอย่างรอบด้าน ทั้งรูปเท้า การลงน้ำหนัก และการเดิน รวมถึงมีบริการตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-838-8100
-
เลือกรองเท้าผู้สูงอายุให้เหมาะกับวัยและสุขภาพ ช่วยป้องกันการลื่นล้ม
-
-
การเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ
แต่ละช่วงวัยของชีวิต เราต้องการรองเท้าที่แตกต่างกันออกไปตามกิจกรรม และตามสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ในวัยเด็กเราต้องการรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี และช่วยปรับสมดุลไม่ให้หกล้มง่ายเมื่อเดินหรือวิ่งเล่น พอโตขึ้นมาในวัยเรียนและวัยทำงาน เราต้องการรองเท้าที่ใส่สบาย เหมาะสำหรับการเดินหรือยืนเป็นระยะเวลานานๆ และเมื่อชีวิตเข้าสู่ช่วงสูงวัย อะไรหลายๆ อย่างก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอย ทั้งในเรื่องกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวช้ากว่าในวัยหนุ่มสาว ประกอบกับโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกและข้อ ส่งผลให้กระดูกเท้าเริ่มผิดปกติทีละน้อย ทำให้ต้องเลือกรองเท้าอย่างพิถีพิถันมากขึ้น
เราจึงต้องการรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่กระชับ เบา สบาย และกระจายน้ำหนักได้ดี ไม่ใช่รองเท้าที่ใส่สบายเท่านั้น และสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อย่างเบาหวาน รองช้ำ ก็ต้องเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพที่นิ่มและเดินสบายมากกว่าคนทั่วไป เพื่อถนอมสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ
ในบทความนี้เราจะพาไปดูกันว่า เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และเราต้องเลือกรองเท้าอย่างไร ถึงจะเหมาะกับวัย เดินสบาย และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ
ปัญหาการเดินและยืนที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย
รู้หรือไม่ว่า “การล้ม” เป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิต โดยผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการล้ม 28-35% และเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ร่างกายทุกส่วนเริ่มที่จะเข้าสู่ภาวะเสื่อมโทรมและถดถอย สมอง กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ เริ่มเสื่อมลงไปทุกวัน รวมถึงการได้ยินและการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพน้อยลงกว่าวัยหนุ่มสาวอีกด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง หรือการมองเห็นที่เสื่อมลง ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้การเดินและยืนเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
•การทรงตัวแย่ลง เนื่องจากความเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสมอง กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ การมองเห็น การได้ยิน
•กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อหดตัวเล็กลง
•เดินช้าลง เนื่องจากเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อเสื่อมลง โดยจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังอายุ 70 ปี
•ท่าการเดินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปลายเท้าขณะเดินจะหันออกไปทางด้านข้างมากกว่าคนหนุ่มสาว และจังหวะการเหวี่ยงเท้าจะเบากว่า
•เนื้อเท้าบางลง พออายุมากขึ้น ไม่ใช่แค่กระดูกและข้อที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นก็เสื่อมลงตามอายุด้วย ส่งผลต่อเนื้อเท้าบริเวณฝ่าเท้า ผู้สูงอายุหลายคนจึงสวมใส่ถุงเท้าที่ค่อนข้างหนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดีมาโดยตลอด เราอาจจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงมากนักในวัย 60 ปี แต่ในวัย 70 ปีขึ้นไปจะต้องดูแลปัญหาสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ เพราะนอกจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว สุขภาพและอาการเจ็บป่วยในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือโรคประจำตัว ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การเดินและยืนของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรครองช้ำ โรคกระดูกและข้ออื่นๆ
ดูแลให้ผู้สูงวัยเดินให้สบายเหมือนเดิม
สำหรับใครที่ก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย หรือมีคุณพ่อคุณแม่หรือญาติในวัยนี้ อยากให้เดินได้อย่างสบายและปลอดภัย เราจะต้องเพิ่มความใส่ใจและดูแล โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังต่อไปนี้
ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรง
สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเดินและการทรงตัว แนะนำให้ใช้ 3 ข้อนี้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ให้สามารถเดินและยืนได้อย่างสมดุล
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีสัดส่วนที่พอเหมาะ ที่สำคัญคือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 1.0-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และกระดูก ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เราสามารถชะลอการเสื่อมของการกล้ามเนื้อได้ด้วยการออกกำลังกาย โดยการเน้นกล้ามเนื้อส่วนขาให้มีความแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการยืดเหยียด หรือการเดินเร็วเป็นประจำ
3.เลือกซื้อและใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ ที่กระชับและพอดีกับเท้า สามารถรองรับและกระจายน้ำหนักได้ดี เพื่อป้องกันการล้ม หรือปัญหาสุขภาพเท้า รวมไปถึงข้อต่อและกระดูก
ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องกระดูก กล้ามเนื้อ การทรงตัว และโรคประจำตัว
สำหรับการเลือกรองเท้าผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเท้าหรือไม่ เรามีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้
1.เลือกและลองใส่ด้วยตัวเองทุกครั้ง เพราะรองเท้าแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ตามการออกแบบรองเท้า ดังนั้น แม้ว่าจะเป็นรองเท้ายี่ห้อเดียวกันก็อย่าประมาท คิดว่าใส่เบอร์เดิมได้พอดี ทางที่ดีให้ผู้สูงอายุมาลองใส่ด้วยตัวเองจะดีที่สุด รวมถึงอย่าซื้อรองเท้าที่ใหญ่กว่าเท้า เพราะคิดว่าใส่สบายกว่าหรือเผื่อเท้าบวม เพราะจะทำให้ไม่กระชับรับกับเท้า และอาจเกิดการสะดุดล้มได้
2.เลือกรองเท้าให้เหมาะกับกิจกรรมและไลฟ์สไตล์ รองเท้าแต่ละแบบมีการออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน หากว่าเราอยู่บ้านเป็นหลัก อย่าเสียดายเงินที่จะเลือกซื้อรองเท้าใส่ภายในบ้านราคาแพงที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า โดยรองเท้าอยู่บ้านควรจะเลือกรองเท้าแตะหรือรองเท้ารัดส้นที่สามารถถอดเข้า-ออกได้สะดวก แต่ก็ยังกระชับรับกับรูปเท้า ไม่หลุดหรือเลื่อนได้ง่าย ส่วนรองเท้าสำหรับใส่ทำกิจกรรมนอกบ้าน ควรเลือกรองเท้าแบบหุ้มส้นที่นุ่ม เบา สวมใส่กระชับ สามารถปรับให้พอดีกับเท้า สามารถใส่ยืนหรือเดินได้โดยไม่เจ็บเท้า
3.เลือกรองเท้าที่เหมาะกับสรีระของเท้าและปัญหาสุขภาพเท้า หากว่าเราเท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือเป็นโรคเบาหวาน รองช้ำ ก็ควรจะเลือกรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อคนที่มีปัญหาสุขภาพเท้าโดยตรง และควรตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคลเพื่อดูแลสุขภาพเท้าที่แตกต่างโดยเฉพาะ
4.เลือกรองเท้าหนังแท้จะดีที่สุด เพราะเป็นวัสดุทำรองเท้าที่นุ่ม และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังที่บอบบางและแพ้ง่ายของผู้สูงอายุ
5.เลือกรองเท้าที่สามารถปรับกระชับได้ เพื่อให้รองเท้าที่ใส่กระชับเข้ากับรูปเท้าของแต่ละคน เวลาเดินสามารถเกาะพื้นได้ดี ไม่ลื่น เดินได้อย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม หากซื้อรองเท้าผ้าใบที่ปรับกระชับด้วยเชือก ต้องระมัดระวังไม่ให้เชือกหลุดหรือพันกันจนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้หกล้มหรือเป็นอันตราย
6.พื้นรองเท้าแข็งแรง ไม่บิดงอง่าย ที่สำคัญคือต้องไม่ลื่น แม้เดินบนพื้นเปียก ก็สามารถกระจายน้ำหนัก และดูดซับแรงกระแทกได้ดี และสามารถเปลี่ยนแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคลได้
7.เลือกรองเท้าหุ้มข้อที่ช่วยประคองข้อเท้าไม่ให้พลิก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ข้อต่อเริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด โดยจะต้องระวังการเดินและเคลื่อนไหว เพราะหากข้อเท้าพลิกอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพข้อเท้าในระยะยาวได้
8.รองเท้าแตะต้องเป็นรองเท้าแตะสุขภาพที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น ผู้สูงอายุสามารถเลือกใส่รองเท้าแตะได้ แต่จะต้องเป็นรองเท้าแตะที่กระชับพอดีกับเท้า แนะนำให้เป็นแบบสวมมากกว่าแบบคีบ เพื่อไม่ให้ระคายต่อผิวที่บางลงและสวมใส่ง่ายกว่า ที่สำคัญจะต้องเลือกพื้นรองเท้าสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวต่างๆ ได้ดี แม้ในภาวะที่มีน้ำขังหรือลื่น นอกจากนี้อย่าลืมเรื่องรองเท้าสุขภาพที่มีแผ่นรองใต้ฝ่าเท้า เพราะสามารถรองรับและกระจายน้ำหนักได้ดี
หากไม่แน่ใจว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพเท้าหรือต้องการเลือกรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะกับสุขภาพเท้าจริงๆ สามารถมาตรวจสุขภาพเท้า และลักษณะการเดินโดยนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเท้าเป็นพิเศษได้ที่ Fit For Feet by Verasu เพื่อเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับลักษณะการเดินที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่มา :
- 10 ความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุควรรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/10-risk-of-deterioration
- 10 วิธีง่ายๆ ในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/10วิธีการดูแลผู้สูงวัย
- Best Orthopedic Shoes For Seniors Of 2022, According To Podiatrists. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.forbes.com/health/healthy-aging/best-orthopedic-shoes-for-seniors/
- รองเท้าที่เหมาะกับสำหรับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 จาก < href="https://www.yuusook.com/content/5325/รองเท้าที่เหมาะกับสำหรับผู้สูงอายุ"
Do & Don't การดูแลสุขภาพเท้าและเลือกรองเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยตนเอง
-
วิธีดูแลสุขภาพเท้าและการเลือกรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
หนึ่งในสิ่งที่คนป่วยโรคเบาหวานกลัวก็คือ แผลเบาหวาน ซึ่งเป็นแผลที่หายยาก และเป็นแผลเรื้อรัง เนื่องจากไขมันไปจับกับเส้นเลือด ทำให้ตีบและอุดตันในที่สุด และหนึ่งในจุดที่เป็นแผลมากที่สุดก็คือ เท้า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีปัญหาเรื่องประสาทรับความรู้สึก ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ จึงเกิดบาดแผลโดยง่าย และกว่าจะรู้ตัวแผลก็ลุกลามไปไกลแล้ว
แผลเบาหวานที่เท้า จึงกลายเป็นฝันร้าย ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อยากให้เกิดขึ้น การดูแลรักษาเท้าแต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญ วันนี้เราจึงหยิบยกข้อมูลดีๆ จากคู่มือการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ที่โรงพยาบาลศิริราชและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นผู้จัดทำ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานทราบถึงวิธีการดูแลเท้าอย่างถูกวิธี พร้อมบอกวิธีเลือกรองเท้าผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร ไม่ให้เกิดแผลที่เท้า
Do it!!! ข้อควรปฏิบัติในการดูแลสุขภาพเท้า
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เรามีวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพเท้าในทุกวัน ดังนี้
• ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเช็กความดันโลหิตอยู่เสมอ ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอีกแล้ว ดังนั้น หากว่าเราเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้ประสาทส่วนปลายที่รับความรู้สึกเสื่อม ขาดเลือดไปเลี้ยงที่เท้า และมือ บางรายหลอดเลือดอุดตัน บางรายเกิดอาการติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเช็กความดันโลหิตจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปลายประสาทเท้าเสื่อมนั่นเอง
• ทำความสะอาดเท้าเป็นประจำ ล้างด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำสบู่อ่อนๆ แต่ที่สำคัญคือ การใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าเนื้อนุ่มซับน้ำให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้ว เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อรา
• สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน หลายครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้าลุกลาม เพราะไม่ได้ดูแลรักษาแผลดีตั้งแต่ต้น เนื่องจากมีอาการของปลายประสาทเสื่อม ทำให้ไม่เจ็บแผล กว่าจะรู้ตัวอีกที แผลก็ติดเชื้อใหญ่โต ดังนั้น เราควรจะตรวจสอบแผล รอยถลอกให้เป็นกิจวัตรประจำวัน และเมื่อเปลี่ยนรองเท้าใหม่ ให้สำรวจหลังจากใส่รองเท้าไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง หากว่ามองไม่เห็นหรือว่าเห็นไม่ชัด อาจจะใช้กระจกเป็นตัวช่วย ถ่ายรูปเท้า หรือให้ผู้ดูแลเป็นคนดูให้
• ใช้ครีมหรือโลชันทาบางๆ บริเวณฝ่าเท้าและหลังเท้า แต่ไม่ควรทาที่ร่องนิ้ว เพราะอาจจะเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคได้
• ใส่ถุงเท้าถ้าอากาศเย็น หรือรู้สึกว่าเท้าเย็น แต่ไม่แนะนำให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือยาที่มีฤทธิ์ร้อน เพราะหากร้อนไปอาจจะทำให้เกิดแผลลวก หรือพุพองไม่รู้ตัว ส่วนถุงเท้าจะต้องไม่รัดแน่นจนเกินไป และมีขนาดที่พอดีกับเท้า
• บริหารเท้าเป็นประจำ สามารถบริหารด้วยการกระดกข้อเท้าขึ้นลงสลับกันช้าๆ หมุนข้อเท้าเข้า-ออก ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าบนพื้น และนั่งยกขาให้เข่าเหยียดตึง บริหารเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน วันละ 3 รอบ รอบละ 10 ครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
• ตัดเล็บอยู่เสมอ และไม่ปล่อยให้เล็บยาวเกินเนื้ออย่างเด็ดขาด โดยให้ตัดขวางเป็นเส้นตรงพอดีกับเนื้อ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดจากเล็บซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผล
• สวมรองเท้าที่นุ่ม สะอาดและพอดี ไม่ใส่รองเท้าที่คับ หน้าเท้าแคบ หรือบีบหน้าเท้า หากซื้อรองเท้าคู่ใหม่มา แนะนำให้ใส่เพียง 1-2 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนใส่คู่เก่า เพื่อให้รองเท้าขยายให้พอดีกับรูปเท้า และไม่รัดทำให้เกิดแผลที่เท้าได้
Tips ในการเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
• พื้นผิวด้านในต้องเรียบ ไม่มีรอยเย็บ รอยต่อตะเข็บ รอยนูน หรือขอบแข็ง
• เลือกรองเท้าที่ทำมาจากหนังหรือผ้า สามารถระบายอากาศได้ดี
• รองเท้าควรเป็นชนิดหุ้มส้น หรือมีสายรัด เพื่อที่จะไม่เลื่อนหลุดได้ง่าย
• หน้าเท้ากว้าง สามารถขยับนิ้วเท้าได้อย่างอิสระ
• ควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย พื้นรองเท้าไม่ลาดชัน จนทำให้เท้าระคายเคืองได้ง่าย
Don’t do it!!! ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีข้อห้ามที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาดในการดูแลสุขภาพเท้า ดังต่อไปนี้
• ห้ามสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ และการสูดควันบุหรี่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดของเราโดยตรง ทำให้เส้นเลือดตีบ และส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
• หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เพราะอาจจะไปกดทับเส้นประสาทบริเวณเข่าได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ หรือท่าอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
• ไม่แช่เท้าในน้ำไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการลวกเท้าแล้ว ยังทำให้เท้าแห้ง เป็นขุยได้ง่าย
• ไม่สวมรองเท้าหรือถุงเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หรือรัดจนเกินรอยแผลได้
• อย่าตัดเล็บลึกถึงมุม และอย่าตัดหนังด้านด้วยตัวเอง การตัดเล็บโค้งไปถึงมุมอาจจะทำให้เป็นแผลได้ และการตัดหนังด้านด้วยตัวเองอาจจะตัดเนื้อโดยรอบไปโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการปลายประสาทเสื่อมร่วมด้วย ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการจะดีกว่า
• ห้ามเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้านก็ตาม เพื่อปกป้องเท้าของเราจากสิ่งแหลมคม หรือสิ่งที่ทำให้เกิดแผลได้ง่าย และห้ามใส่รองเท้าแตะคีบ เพราะทำให้เกิดการเสียดสี และเป็นแผลได้
เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นส่วนที่ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเท้า เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา หรือร้ายแรงกว่านั้นคือ การสูญเสียเท้าที่เรารักไป
Fit For Feet by Verasu เราใส่ใจสุขภาพเท้าของทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องดูแลสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ โดยเรามีรุ่นที่ออกแบบ เป็นรองเท้าผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ มีความนุ่ม อ่อนโยน ไม่ทำให้เกิดแผล กระชับ เหมาะสำหรับทุกวัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 022548100 - 8 ต่อ 14140 และ 14142 หรือที่ร้านวีรสุ สาขาถนนวิทยุ ได้ทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น.
ที่มา :
• คู่มือการดูแลเท้าในผู้เป็นเบาหวาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/270_49_1.pdf -
วิธีดูแลตัวเองและการเลือกรองเท้าสุขภาพ สำหรับอาชีพที่เดินหรือยืนทั้งวัน
-
-
เดินหรือยืนทั้งวัน ต้องดูแลตัวเองและเลือกรองเท้าสุขภาพอย่างไร
สำหรับอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินทั้งวัน อย่างอาชีพพยาบาล แพทย์ เชฟ นักวิทยาศาสตร์ พนักงานต้อนรับ พนักงานเสริมสวย และอาชีพอื่นๆ ที่ใช้เวลากับการเดินและยืนมากกว่าการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องดูแลสุขภาพเท้าและขาเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
การยืนหรือเดินนานๆ ทุกวัน มีผลต่อสุขภาพอย่างไร
คนที่ประกอบอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ หรือชอบเดินทางท่องเที่ยวด้วยการเดินชมสถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่คนที่ชอบเดินซื้อของ อาจจะคิดว่าเดินนานๆ หรือยืนนานๆ ก็ไม่เป็นไร พักสักครู่ก็หาย แต่ความจริงแล้ว การยืนหรือเดินนานๆ ทุกวัน อาจจะทำให้ประสบปัญหาสุขภาพเท้า อย่างการปวดขา ปวดเท้า ปวดน่อง และอาจจะลามไปถึงการปวดตามข้อต่อและกระดูกต่างๆ อีกด้วย เพราะเท้าต้องรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาไม่ได้พักนั่นเอง ซึ่งการยืนหรือเดินนานๆ อาจจะส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้
1.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ เนื่องจากเท้าและขาทั้งสองข้างจะต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของเรา และยิ่งเวลาที่เราเดินหรือวิ่ง เท้าของเราก็จะยิ่งต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทกมากขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้อาจจะมีอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อบริเวณขาและเท้าได้ แต่หากว่าปล่อยไว้นาน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องข้อต่อต่างๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน
2.ปวดหลัง หลายคนอาจจะเคยได้ยินเพื่อนร่วมงานบ่นว่าปวดหลังอยู่บ่อยๆ อาการปวดหลังส่วนล่างไม่ได้เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะเกิดจากการยืนนานๆ ได้เช่นเดียวกัน เพราะขณะที่ยืน กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างจะเกร็งต่อเนื่องเป็นเวลานาน และกระดูกบริเวณเอวก็รับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนอยู่เป็นระยะเวลานานเช่นเดียวกัน
3.เส้นเลือดขอด เป็นอาการยอดฮิตของคนที่ต้องทำอาชีพที่นั่งหรือยืนนานๆ ทำให้เกิดการคั่งของเส้นเลือด ทำให้มองเห็นเส้นเลือดเป็นสีแดง เขียว หรือดำบริเวณที่ขาอย่างชัดเจน หากปล่อยไว้นานโดยไม่เปลี่ยนพฤติกรรมหรือทำการรักษาก็อาจจะทำให้ปวดขาเรื้อรังได้
วิธีดูแลตัวเองเมื่อต้องทำอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินทั้งวัน
สำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยืนหรือเดินทั้งวันเป็นประจำทุกวัน เรามีวิธีดูแลสุขภาพเท้าแบบง่ายๆ มาฝากกัน
1.ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะยิ่งน้ำหนักของเรามากขึ้นเท่าไร เท้าและขาทั้งสองข้าง รวมถึงกระดูกและข้อต่อต่างๆ จะต้องรับภาระหนักในการแบกน้ำหนักตามไปด้วย โดยขาและเท้าทั้งสองข้างจะต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของเรา ส่วนกระดูกบริเวณเอวก็จะต้องรับน้ำหนักส่วนบนของร่างกาย
2.ประคบอุ่น ด้วยแผ่นเจล แผ่นประคบ หรือแช่น้ำในน้ำอุ่นประมาณ 15 นาทีหลังเสร็จกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เลือดบริเวณดังกล่าวหมุนเวียนดียิ่งขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดอาการปวดและบวม รวมถึงฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายหรือเสียหายได้ดีอีกด้วย
3.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ช่วงเวลาที่เรานอนหลับพักผ่อนจะเป็นช่วงที่ร่างกายของเราได้ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ หรือเสียหายไปจากการใช้ชีวิตประจำวัน และช่วยฟื้นฟูร่างกายให้มีความแข็งแรง
4.ตรวจสุขภาพเท้ากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าเราไม่ได้มีปัญหาสุขภาพเท้า หรือมีปัญหาเท้าแบน หรืออุ้งเท้าสูง ที่ต้องการรองเท้าที่เหมาะกับสรีระ เพื่อปรับสมดุลให้แก่การเดินและการยืน
5.ยืดกล้ามเนื้อ ทั้งก่อนและหลังเลิกงาน รวมถึงช่วงเวลาพัก เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เกร็งตัวให้ผ่อนคลาย
6.พักขาบ้าง อย่าคิดว่าเราเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่จำเป็นต้องพัก หากมีโอกาสให้นั่งพักขา หรืออย่างน้อยก็พักขาข้างใดข้างหนึ่งบ้าง อย่ายืนตรงตลอด เพราะทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานแบบไม่หยุดพัก
7.สวมใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นรองเท้าที่ออกแบบมาให้มีความเหมาะสมกับสรีระเท้าโดยเฉพาะ สามารถรองรับแรงกระแทกและกระจายน้ำหนักได้ดี ทำให้ลดอาการปวดเมื่อยได้
วิธีเลือกรองเท้าสำหรับคนที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ
รู้หรือไม่ว่ารองเท้าสุขภาพมีหลายแบบหลายยี่ห้อ แต่จะเลือกรองเท้าอย่างไร จึงจะได้รองเท้าที่มีคุณภาพ และช่วยดูแลสุขภาพเท้าของเราได้อย่างแท้จริง
1.แผ่นรองใต้ฝ่าเท้า หรือพื้นรองเท้าด้านในจะต้องไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป เพราะหากแข็งเกินไปอาจจะเจ็บเท้า แต่หากว่านุ่มเกินไปก็อาจจะทำให้การเดินไม่สมดุล แผ่นรองใต้ฝ่าเท้าที่ดีจะสามารถช่วยรองรับน้ำหนักและกระจายน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่เท้าแบน อุ้งเท้าสูง หรือมีปัญหาสุขภาพเท้า แนะนำให้ใช้ตัดแผ่นรองใต้ฝ่าเท้าเฉพาะบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยลดและป้องกันปัญหาสุขภาพได้
2.ขนาดของรองเท้าต้องพอดี ไม่แน่นหรือไม่หลวมจนเกินไป หากแน่นเกินไปเวลายืนหรือเดินนานๆ อาจจะทำให้เจ็บเท้าหรือเกิดบาดแผลได้ง่าย ที่สำคัญควรดูบริเวณหน้าเท้าของรองเท้า ควรเลือกที่กว้างพอให้เราสามารถขยับนิ้วเท้าได้ แต่หากว่าเลือกรองเท้าที่หลวมเกินไป อาจจะทำให้เดินไม่ถนัด หรือเลื่อนหลุดได้ง่าย
3.หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูงเกิน 2 นิ้ว รองเท้าที่คับและลาดชัน รวมถึงรองเท้าส้นตึก เพราะอาจจะทำให้ต้องเกร็งกล้ามเนื้อตลอดเวลา หรือทำให้ล้มได้ง่าย
4.พื้นรองเท้าด้านนอกต้องทำจากวัสดุที่เกาะพื้น ไม่ลื่น เพื่อความปลอดภัยตลอดการสวมใส่ โดยเฉพาะงานที่ต้องเดินหรือวิ่งไปมาอยู่ตลอดเวลา
สำหรับผู้ที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ รองเท้าสุขภาพ Fit For Feet by Verasu รองเท้าคุณภาพนำเข้าจากประเทศเยอรมนี ช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักได้ดี ไม่ทำให้เมื่อยหรือเจ็บเท้า เชิญมาลองความสบายได้ที่ร้านวีรสุ สาขาถนนวิทยุ ได้ทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น. สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 022548100 - 8 ต่อ 14140 และ 14142
ที่มา :
คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่ยืนทำงานตลอดทั้งวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.summacheeva.org/article/stand
ผลกระทบของการ "ยืนนานๆ". สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/46907-ผลกระทบของการ%20"ยืนนานๆ"%20.html
Foot basic knowledge
-
The 3 type of arches of foot
* Normal arch : Can be seen in generally human.
* Flat arch or Over-pronation : The arch of foot are collapses, that make a many problems such as aching pain, achilles tendinitis, fatigue the muscles around the foot, pain around the ankle or pain at the medial part of knee.
* High arch : is too high of the arch, that make a more reflection forces than the normal arch. Many people have been pain at the heel,ball of the foot, arch of the foot or back pain. It will be effected to case of ankle instability in some case. -
GENERAL FOOT CARE
-
-
1. Wash your feet regularly, especially between the toes and be sure to dry completely.
2. Trim toenails straight across, but not too short. Be careful not to cut nails in corners or on the sides; it can lead to ingrown toenails. Persons with diabetes, poor circulation, or heart problems should not treat their own feet because they are more prone to infection.
3. Make sure that your shoes fit properly. Purchase new shoes later in the day when feet tend to be at their largest and replace worn out shoes as soon as possible
4. Beware to cutting or trimming corns and calluses with a razor blade. Especially diabetic should never try this step.
Quality and comfortable
-
Good shoes can be removeble orthopaedic footbeds promote overall health and well-being. Anatomically designed to support gentry reposition the heel, archs, muscless,ligaments, tendons and bones in the feet, they enable theses structure to work together as a nature intended, making each step you take supremly comfortable while gently improving posture and gait.
Unlike conventional shoes, FinnComfort distibutes pressure eventually across the entire foot, thus eliminating unneccessary stress on youe knee and hip joints and prevention possible foot and back alignment.
Your feet, and thus your body, are supported properly and naturally, like walking barefoot in the sand. -
CHOOSING THE NEW SHOES
-
-
1. Just to know about your feet such as shape, size and structures.
2. Buying the shoes in the afternoon. Because your foot will expands during the day.
3. Checking the space of toes, a half-inch toe-box in longest approximately
4. Try the new shoes compared with both side, and walk a lot to ensure the shoes properly.
5. Pay attention to width as well as length. If the ball of your foot feels compressed in a particular shoe, ask if
it comes in a wider size. Buying shoes that are a half-size bigger. But not any too wide.
6. Trust your own comfort level rather than a shoe's size or description. Sizes vary between manufacturers.
PLANTAR FASCIITIS
-
The excessive stretching of the plantar fascia
that leads to the inflammation and discomfort caused by over-pronation (flat feet), high arch, heel spurs, sudden increase physical activity or weight gain. The pain is often acute in first steps out of bed in the morning or after a long rest, because while resting the plantar fascia contracts back to its original shape and the first steps in the morning are stretching of the plantar fascia.
Treatment and Prevention the plantar fasciitis used an orthotic with arch support and rearfoot position in an over-pronation (flat feet) and high arch, prevent over-stretching of the plantar fascia. Wearing shoes that have a cushioned heel to shock absorption. And other common treatments include stretching exercises, reduce shock and shear forces during everyday activities such as avoid running on hard or uneven ground, lose any excess weight, and wear shoes with orthotics to support your foot. -